แนะนำ โรงแรมที่พัก ไทเป ไต้หวัน อัพเดตล่าสุด

ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร


ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เปิดให้ชมการทำงานของช่างฝีมือ 32 แห่งและเลือกซื้องานหัตกรรมฝีมือเยี่ยม รวมถึงเข้าชมหมู่บ้านศิลปาชีพที่จัดแสดงชีวิตชาวบ้านวิถีไทยทั้ง 4 ภาค ตื่นตาตื่นใจกับสวนนกที่จัดตามแบบธรรมชาติพร้อมพันธุ์นกหายาก และตู้ปลาขนาดยักษ์จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด รวมถึงปลาบึกและกระเบนราหู พร้อมกราบสักการะพระโพธิสัตว์พันมือที่ประชาชนจีนน้อมเกล้าฯ ถวาย

เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 มีต้งพระประสงค์ให้ประชาชนมีอาชีพ โดยพระองค์ท่านทรงสนใจในงานหัตกรรมพื้นบ้านเป็นอย่างยิ่ง จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ขึ้นเพื่อฝึกงานฝีมือให้กับช่างอาชีพและทรงนับซื้อไว้ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งหมด

แรกเริ่มเดิมทีพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จัดหาที่ดินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพ เป็นที่ดินทั้งหมด 750 ไร่ ต่อมาในวันที่ 3 มิถุนายน 2523 พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ เปิดศูนย์ รัฐบาลก็ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินแปลงนี้ ต่อมาได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก 200 ไร่ รวมเป็น 1,000 ไร่เศษดังเช่นในปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจภายในศูนย์

  1. แผนกช่างฝีมือ 32 แห่ง ใจกลางของศูนย์เป็นอาคารช่าง ที่ฝึกวิชาชีพให้กับช่างมีทั้งหมด 32 ประเภท เช่น ช่างเครื่องเคลือบดินเผา ช่างสานย่านลิเภา ช่างเป่าแก้ว ช่างทอผ้าไหม ช่างทำหัวโขน ช่างทอผ้าลายตีนจก เป็นต้น เมื่อช่างทำงานเสร็จแล้วจะนำไปจำหน่ายที่ศาลาพระมิ่งขวัญและที่ร้านจิตรลดาทุกสาขาทั่วประเทศ อาคารเหล่านี้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมได้ แต่จะต้องไม่ไปขวางการทำงานของช่าง ห้ามหยิบจับเครื่องมือและงานหัตกรรม รวมถึงห้ามถ่ายรูปอีกด้วย
  2. หมู่บ้านศิลปาชีพ พื้นที่หลายสิบไร่ที่ถูกจัดเป็นหมู่บ้านไทยในแต่ละภาค แต่ละหมู่บ้านถูกล้อมรอบด้วยสระน้ำขนาดใหญ่ ภายในเป็นพื้นที่จัดแสดงศิลปหัตกรรม สถาปัตยกรรม และวิถีชีวิตชาวไทยในแต่ละภาค เหมาะแก่การเก็บภาพความประทับใจ ทั้งนี้หมู่บ้านศิลปาชีพแห่งนี้ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  3. สวนนก มูลนิธิสัตว์ป่าและพันธุ์พืชในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้ดูแลจัดการพื้นที่นี้ โดยสวนนกประกอบไปด้วยกรงนกขนาดใหญ่ 2 กรง ภายในกรงจัดสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ คือเป็นป่ามีน้ำตกและธารน้ำ นอกจากนี้ยังมีระบบไฟล่อแมลงซึ่งเป็นอาหารของนก อีกทั้งมีระบบฝนเทียมในวันที่อากาศร้อนหรือแห้งแล้งมากจนเกินไป เนื่องจากกรงนกออกแบบมาให้เหมือนป่ามากที่สุด นักท่องเที่ยวที่เข้าไปเที่ยวชมไม่ควรส่งเสียงดังและต้องไม่ให้อาหารกับนกเด็ดขาด กรงนกทั้ง 2 กรงนี้ มีนกหายากและนกใกล้สูญพันธุ์กว่า 100 ชนิด ที่น่าสนใจ เช่น นกชาปีไหน นกเงือกกรามช้าง นกกาฮัง (นกกะวะ) และนกสาลิกาเขียว
  4. ตู้ปลา ตู้ปลาในความดูแลของกรมประมง มีอยู่ด้วยกัน 2 ตู้ ตู้ใหญ่ ขนาด 1,400 ตันส่วนตู้เล็กขนาด 600 ตัน ทั้งสองตู้มีปลาน้ำจืดให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชมปลาที่น่าสนใจ เช่น ปลาบึก กระเบนราหู ปลาตะเพียนทอง
  5. ศาลาพระมิ่งขวัญ หลังจากชมอาคารช่าง 32 แห่งแล้ว ถ้าอยากได้ของที่ระลึกฝีมือช่างศูนย์ศิลปาชีพบางไทร สามารถหาซื้อได้ที่ชั้นล่างของศาลาพระมิ่งขวัญ โดยอาคารชั้นล่างจำหน่ายสินค้าของช่างจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทยและศูนย์อื่นๆ ทั่วประเทศ ส่วนชั้น 2 และ 3 เป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการผลิตภัณฑ์ชิ้นยอดเยี่ยมของศูนย์ศิลปาชีพที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง ที่โดดเด่นมากที่สุดคืองานตุ๊กตาปูนปั้นตลาดน้ำบางไทร ที่แสดงวิถีชีวิตของชาวบ้านในตลาดน้ำแบบดั้งเดิม
  6. พระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์ เจ้าแม่กวนอิมพันมือองค์นี้แกะสลักจากไม้จันทน์เหลือง โดยนายถู เจี๋ยในนามของประชาชนชาวจีนได้น้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เนื่องในวาระทรงเจริญพระชนม์พรรษาครบ 6 รอบ พระองค์ท่านทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้นำมาไว้ที่ศาลาโรงช้าง พระตำหนักชั่วคราว ในศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เพื่อให้สาธุชนได้สักการะ

ค่าใช้จ่าย

ค่าเข้าชม: ชาวไทย เด็ก 20 ผู้ใหญ่ 50, ชาวต่างชาติ เด็ก 50 ผู้ใหญ่ 100 บาท

เวลาทำการ

เวลาเปิด-ปิด: ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เปิดทุกวัน ยกเว้นแผนกช่างฝีมือ 32 แห่งและสวนนก ปิดวันจันทร์ ตู้ปลา ปิดจันทร์- อังคาร
เวลาเปิด-ปิด:  วันธรรมดา 09.00 -17.00 น., วันเสาร์ อาทิตย์ หยุดนักขัตฤกษ์ 08.30-18.00 น.

วิธีการเดินทาง

จากเทศบาลนคร พระนครศรีอยุทธยา ใช้ถนนเทศบาลเมืองอญธยา เข้าเจดีย์วัดสามปชื้ม ออกถนนอยุธยา – อ่างทอง ตรงไปตามป้ายบอกทางกรุงเทพ เข้าหมายเลข 9 ใช้ถนน 3309 เลี้ยวซ้าย ศูนย์ศิลปาชีพจะอยู่ทางซ้ายมือ

แผนที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร และสถานที่อื่นๆใน อยุธยา

GPS: 14.155580, 100.518854
- สถานที่ปัจจุบัน - สถานที่แนะนำ - สถานที่อื่นๆ

ที่เที่ยวแนะนำ - ที่เที่ยวแนะนำ จุดชมซากุระ - จุดชมซากุระ จุดชมใบไม้เปลี่ยนสี - จุดชมใบไม้เปลี่ยนสี เป็นมรกดโลก - เป็นมรกดโลก