แนะนำ โรงแรมที่พัก ไทเป ไต้หวัน อัพเดตล่าสุด

วัดญาณเสน วัดมรดกโลกอันลึกลับ

ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรกดโลกจาก UNESCO

วัดญาณเสน: วัดโบราณที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แต่กลับมีประวัติที่ลึกลับ ไม่มีใครรู้ที่มาที่ไป จุดเด่นของวัดคือเจดีย์ประธานย่อมุมไม้สิบสองลักษณะคล้ายเจดีย์ศรีสุริโยทัย วัดญาณเสนมีพระอุโบสถสร้างใหม่บนฐานเดิมตามแบบศิลปะอยุธยา ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณที่งามพร้อมไม่มีส่วนใดสึกหรอถึง 3 องค์

วัดญาณเสนเป็นวัดโบราณที่ทุกวันนี้มีพระจำพรรษาอยู่ เดิมชื่อวัดยานุเสน สร้างขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 1920 ซึ่งเป็นช่วงอยุธยาตอนต้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 1930 เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่มีใครทราบที่มาที่ไป ตลอดจนตำนานการสร้างวัด มีเพียงหลักฐานทางเอกสารเล่าความแค่ว่า ได้มีการสร้างร่องน้ำหรือทางชักน้ำใต้กำแพงวัดญาณเสน เพื่อชักน้ำจากแม่น้ำลพบุรีลงใต้กำแพง ผ่านใต้ถนนป่าตะกั่วไปลงคลองขุด จากคลอดขุดไปลงบึงพระราม ทำให้บึงพระรามมีน้ำที่สะอาดอยู่ตลอดเวลา ช่องทางน้ำนี้เรียกว่า ‘ช่องมหาเถรไม้แช่’ เมื่อกาลเวลาผ่านไปร่องน้ำใต้กำแพงถูกทับถมจนไม่อาจใช้เป็นทางน้ำได้อีก

กรมศิลปากรได้ประกาศให้วัดญาณเสนเป็นหนึ่งในโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2584 และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2534

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

▌เจดีย์ประธาน

เจดีย์ประธานของวัดญาณเสนเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ลักษณะคล้ายเจดีย์ศรีสุริโยทัย เดิมนักวิชาการสันนิษฐานว่าเจดีย์ถูกสร้างขึ้นช่วงอยุธยาตอนกลาง ประมาณปี พ.ศ. 2100-2200

เจดีย์ประธานของวัดญาณเสนได้รับการบูรณะ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2487 พบพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทั้งสมัยลพบุรีและอยุธยา ส่วนครั้งที่ 2 คือในปี พ.ศ. 2544 พบเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องใช้โบราณ รวมถึงพบว่ามีการพอกปูนทับเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบเจดีย์ประธาน นั่นแสดงว่าเจดีย์มีมาก่อนช่วงกลางอยุธยาแต่ได้รับการบูรณะในช่วงกลางอยุธยาให้มีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการค้นพบอีกด้วยว่าในการบูรณะในสมัยกลางอยุธยานั้น ผู้บูรณะได้สร้างเจดีย์รายเพิ่มเติมขึ้นมาด้วย สำหรับเจดีย์รายรอบเจดีย์ประธานมีอยู่ทั้งหมด 5 องค์ ซึ่งพังทลายลงมา 4 องค์ ปัจจุบันเหลือเพียงองค์เดียวที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์

▌อุโบสถ

พระอุโบสถของวัดญาณเสนที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาผุพังลงไปมาก ทางวัดได้สร้างอุโบสถขึ้นใหม่บนฐานเดิมในปี พ.ศ. 2487 ทำให้ฐานของพระอุโบสถยังคงมีโค้งสำเภาอันเป็นศิลปะอยุธยาหลงเหลืออยู่ นอกจากนี้องค์พระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่ ยังสร้างเลียนแบบศิลปะอยุธยาหลายส่วน เช่น ช่องแสง (แทนที่จะเป็นหน้าต่าง) เหนือช่องแสงมีซุ้มพระ และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ แต่ไม่ครบทุกซุ้ม

▌พระพุทธรูปโบราณ

ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปโบราณ 3 องค์ประดิษฐานอยู่ ได้แก่ พระประธานองค์กลาง ซึ่งเป็นองค์ที่ใหญ่ที่สุด และพระพุทธรูปอีก 2 องค์ขนาบซ้ายขวา โดยพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นั้นล้วนเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรประนมมืออยู่ข้างพระพุทธรูป

พระพุทธรูปปางมารวิชัยสามองค์นับเป็นสัญลักษณ์ของวัดญาณเสนที่มักจะอยู่ด้านหลังพระเหรียญหรือวัตถุมงคลของทางวัดร่วมกับธรรมจักรเสมอ

▌ศาลพระพรหม

ศาลพระพรหมตั้งอยู่ในวัดส่วนที่สร้างขึ้นใหม่ ไม่ใช่โบราณสถาน แต่ก็มีผู้ศรัทธาเข้าไปกราบไหว้อยู่เป็นประจำ เชื่อกันว่าพระพรหมที่วัดญาณเสนนี้ศักดิสิทธิ์มาก ขออะไรสมปรารถนาทุกอย่าง ทำให้มีผู้นำพวงมาลัยดอกดาวเรืองและพวงมาลัย 7 สี 7 ศอกมาบูชาอยู่เป็นประจำ ไม่ขาดสาย

▌กราบรูปเหมือนหลวงปู่ชื้น พุทธสโร

หลวงปู่ชื้น พุทธสโร นับเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาวัดญาณเสน มาด้วยศรัทธาที่มีต่อหลวงปู่ชื้น แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่ทางวัดก็สร้างรูปเคารพของท่านเอาไว้ เป็นรูปหล่อสัมฤทธิ์นั่งขัดสมาธิลืมตา ขนาดเท่าองค์จริง เพื่อให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชา และระลึกถึงความเมตตาของท่าน


ค่าใช้จ่าย

ค่าเข้าชม: คนไทย 10 บาท ต่างชาติ 40 บาท ผู้สูงอายุเกินกว่า 60 ปี นักเรียนนักศึกษาที่แต่งเครื่องแบบและภิกษุสามเณรเข้าฟรี

เวลาทำการ

เวลาเปิด-ปิด: เปิดทุกวัน 06.00 -18.00 น.

วิธีการเดินทาง

จากเทศบาลเมืองอยุธยา ใช้ถนนเส้นเทศบาลเมืองอโยธยามาวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม ใช้ทางออกที่ 3 สู่ถนนอยุธยา-อ่างทอง (ถนน 309) ข้ามแม่น้ำป่าสัก เลี้ยวขวาที่คลองมะขามเรียง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนป่ามะพร้าว เลี้ยวขวาผ่านถนนไม่มีชื่อ เลี้ยวขวาเข้าถนนอู่ทอง วัดอยู่ทางซ้ายมือ  ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 14 นาที

แผนที่วัดญาณเสน วัดมรดกโลกอันลึกลับ และสถานที่อื่นๆใน อยุธยา

GPS: 14.359306, 100.563786
- สถานที่ปัจจุบัน - สถานที่แนะนำ - สถานที่อื่นๆ

ที่เที่ยวแนะนำ - ที่เที่ยวแนะนำ จุดชมซากุระ - จุดชมซากุระ จุดชมใบไม้เปลี่ยนสี - จุดชมใบไม้เปลี่ยนสี เป็นมรกดโลก - เป็นมรกดโลก