GERMANY
คู่มือท่องเที่ยว เยอรมนี (Germany) ด้วยตัวเอง
GERMANY

รวมวิธีการเดินทางต่างๆในเมืองเบอร์ลิน


ถ้าคุณกำลังจะเดินทางไปกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน มาศึกษาวิธีเดินทางกันก่อน

การเดินทางเข้าสู่เบอร์ลิน


เดินทางโดยเครื่องบิน มีสายการบินหลายสายจากกรุงเทพฯ แต่ต้องไปลงที่เมืองอื่น เช่น Frankfurt อาบูดาบี้ โคโลญจ์ ออสโล ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกเดินทางกับสายการบินใด สนามบินที่เข้าเมืองได้ง่ายคือ สนามบินเทเกล (TEGEL)

การเดินทางในเบอร์ลิน


กรณีที่ต้องการเที่ยวในเบอร์ลิน ควรเลือกที่พักที่ใกล้สถานีรถไฟ เพราะจะเดินทางต่ออย่างสะดวก
1. เดินทางโดยแท็กซี่ ต้องเตรียมงบประมาณไว้มากหน่อย เพราะแท็กซี่ในเบอร์ลินค่าบริการสูงกว่าในเมืองไทยมาก แท็กซี่กลางคืนแพงขึ้นไปอีก
สำหรับการเดินทางอื่นๆ ให้เช็คตารางเดินรถได้จาก http://www.bvg.de/index.php/en/index.html

2. การเดินทางโดยรถบัสสาธารณะ แบ่งออกเป็นหลายประเภท ตั้งแต่
2.1 รถโดยสารธรรมดา เลขสาย 100-399 เป็นรถที่วิ่งในเขตและข้ามเขต มีทั้งรถตอนเดียวรถพ่วง และรถสองชั้น
2.2 MetroBus มี 17 เส้นทาง เป็นรถบริการ 24 ชั่วโมง เลขสายขึ้นต้นด้วย M
2.3 ExpressBus รถเมล์ด่วน จอดน้อยป้าย มี13 เส้นทาง เป็นรถจากนอกเมืองเพื่อเข้าเมือง จากสนามบินเข้าเมือง เมืองไปสนามบิน ใช้เลขสายขึ้นต้นด้วย X
2.4 รถ NightBus มี 45 เส้นทาง วิ่งกลางคืนเพื่อทดแทนเส้นทางรถไฟใต้ดิน U-Bahn เลขสายขึ้นต้นด้วย N

3. การเดินทางด้วยรถราง (Tram) ซื้อตั๋วที่สถานี s-bahn เป็นลักษณะหยอดเงินกดตั๋ว หรือบางคันก็จะมีการซื้อบนรถได้ จอดตามสถานีที่กำหนด มี Berlin MetroTram line M4 รายละเอียดสถานี https://th.foursquare.com/colorfullife/list/berlin-metrotram-line-m4 , Berlin tram stops (A-L) รายละเอียดสถานี https://th.foursquare.com/colorfullife/list/berlin-tram-stops-al

4. การเดินทางด้วยรถไฟ การเดินทางโดยรถไฟ สถานีรถไฟกลางของเบอร์ลินคือ Berlin Hbf
4.1 รถไฟใต้ดิน (U-Bahn) มี 10 เส้นทาง คือ 1. อูลันท์ชตรัสเซอ – วาร์เชาเออร์ชตรัสเซอร์ 2. พังโค – รูเลเบิน 3. น็อลเลินด็อร์ฟพลัทซ์ – ครุมเมอลังเคอ 4. น็อลเลินด็อร์ฟพลัทซ์ – อินน์สบรุคเคอร์พลัทซ์ 5. อาเล็คซันเดอร์พลัทซ์ – เฮอโน 6. เฮาพท์บานโฮฟ – บรันเดินบัวร์เกอร์โทร์ 7. อัลท์-เทเกิล – อัลท์-มารีเอินด็อร์ฟ 8. ราทเฮาส์ชปันเดา – รูโด 9. วิทเทอเนา – แฮร์มันน์ชตรัสเซอ 10. ราทเฮาส์ชเตกลิทซ์ – อ็อสโลเออร์ชตรัสเซอ
4.2 รถไฟชานเมือง (S-Bahn) มี 14 เส้นทาง คือ
1. เอส 1 จากวันน์เซ-โอราเนียนบวร์ก
2. เอส 2 บลังเคินเฟลเดอ-แบร์เนา
3. เอส 3 แอร์คเนอร์-อ็อสท์คร็อยซ์
4. เอส 5 ชปันเดา-ชเตราส์แบร์กน็อร์ท
5. เอส 8 กรือเนา-เบียร์เคินแวร์เดอร์
6. เอส 9 เบอร์ลิน-เชอเนอเฟ็ลท์-พังโค
7. เอส 25 เท็ล โทชตัท-เฮ็นนิชส์ด็อร์ฟ
8. เอส 41 ซีทคร็อยซ์ วิ่งวนตามเข็มนาฬิกา
9. เอส 42 ซีทคร็อยซ์ เช่นกัน แต่วิ่งวนทวนเข็มนาฬิกา
10. เอส 45 เบอร์ลิน-เชอเนอเฟ็ลท์-ซีทคร็อยซ์
11. เอส 46 เคอนิชส์วุส เทอร์เฮาเซิน-เว็สท์เอ็นท์
12. เอส 47 ชปินดเลอร์เฟ็ลท์-แฮร์มันน์ชตรัสเซอ
13. เอส 57 อาเรินส์เฟ็ลเดอ-พ็อทส์ดัมเฮาพท์บานโฮฟ
14. เอส 75 วาร์เทินบวร์ก-เว็สท์คร็อยซ์
4.3 รถไฟข้ามเมือง (InterCity) หรือย่อว่า IC เป็นรถไฟวิ่งจากเบอร์ลิน-โคโลญ
4.4 รถไฟข้ามเมืองด่วน (ICE) เป็นรถไฟความเร็วสูง มีทั้งวิ่งในเมือง และไปถึงเมืองอื่น
4.5 รถไฟท้องถิ่น Regional-Express (RE) และ Regionalbahn (RB)

 

การซื้อตั๋วในเบอร์ลิน จะมีถ้าซื้อตั๋วตั๋วธรรมดาสำหรับเดินทางไม่เกิน 2 ชั่วโมง ตั๋ววัน Tageskarte (Day Ticket) ที่ใช้ได้ถึงเวลา 3 นาฬิกาของวันใหม่ ตั๋วเดือนก็มี ถ้าเที่ยวเฉพาะในเบอร์ลินก็เลือกโซน AB ตั๋วใบเดียวใช้ได้ทั้ง รถไฟใต้ดิน (U-Bahn) รถไฟชานเมือง (S-Bahn) และรถบัส


Exit mobile version